ค้นหางานด่วน !

10 ข้อผิดพลาด เขียนใบสมัครไม่ได้งาน

หมวดหมู่: ข้อคิดคนหางาน

10 ข้อผิดพลาด เขียนใบสมัครไม่ได้งาน

          การไม่มีงานทำเป็นความเครียดที่สร้างความอึดอัดและไม่สบายใจแต่ตัวคนที่หางานทำและครอบครัวไม่น้อย ผู้เขียนได้รับเชิญไปบรรยายเรื่องการหางานทำ และทำอย่างไรถึงจะให้องค์กรประทับใจและอยากรับเราเข้าทำงาน ยิ่งปัจจุบันคนตกงานมากไม่ว่าจะโดนให้ออก ไล่ออก หรือพวกจบการศึกษาใหม่ซึ่งมีมากมาย ยิ่งทำให้ตลาดแรงงานแข่งขันกันสูงอย่างน่าหวั่นใจการได้งานทำจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะแค่ใบสมัครก็โดนทิ้งตะกร้าเสียแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่ทันอ่าน หรือดูว่าเราจะจบอะไร มีคุณสมบัติมากน้อยแค่ไหน

          ใบสมัครจึงเป็นด่านสำคัญของการได้งานทำ การเขียนใบสมัครจึงเป็นศิลปะที่อย่าได้มองข้ามไป หากเขียนผิดพลาดแม้แต่นิดเดียวมีสิทธิตกงาน แอนเน แมคคินนีย์ (Annee Makinney) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงาน เขียนหนังสือ The Teal Resumes โดยเน้นว่า

          ผู้สมัครงานพลาดตรงเขียนใบสมัครไม่ได้ดีไม่พอ ยังมีข้อผิดพลาด 10 ประการที่ทำให้ไม่ได้งานทำ ไม่ว่าผู้สมัครงานรู้หรือไม่ก็ตาม

          1. ประวัติการทำงานไม่น่าประทับใจ

          เป็นเรื่องที่เราอาจจะคิดไม่ถึงหรือไม้ทันคิด ที่บอกในสิ่งที่ไม่ควรบอก บางเรื่องไม่จำเป็นต้องบอกแต่ถ้าบอกไปอาจเป็นผลเสียมากกว่าได้ เพราะนั่นคือประวัติที่เป็นข้อด้อยมากกว่าข้อดี เช่น เคยทำงานมาหลายแห่งในรอบปีก็ไม่ต้องไปบอกหมด ทางเลือกที่ดีบอกแค่งานเดียวที่ทำโดยไม่ต้องบอกว่าทำกี่เดือน เพราะการเล่าประวัติว่ามีการทำงานแบบเข้าๆ ออกๆ ในหลายแห่ง อาจทำให้องค์กรคิดว่าเราเป็นคนแบบไหน ถึงทำงานกับใครไม่นาน เราอดทนน้อย หรือไม่มีสมรรถภาพกันแน่

          2.เขียนเยิ่นเย้อเกินไป

          เป็นการเล่าสาเหตุที่อยากสมัครงาน เช่น

          “ผมเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาสมัครงาน ทั้งๆ ที่สมัครมานานแต่ไม่ได้งานทำสักที”

          นายจ้างอาจรำคาญว่า เรากำลังมาระบายความในใจอะไร ทำไมไม่เขียนให้ตรงประเด็นสักที

          3.เขียนน่าเบื่อ

          การเขียนใบสมัครก็คือหวังให้นายจ้าง องค์กร รับเราเข้าทำงาน หรืออ่านแล้วอยากเรียกเราไปสัมภาษณ์ไม่ใช่ดูเป็นคนน่าเบื่อ แล้วจะเรียกมาสัมภาษณ์ทำไม สู้ทิ้งใบสมัครลงตะกร้าไปเลยจะดีกว่า

          4.เขียนยาวเกินไป

          การเขียนใบสมัครมีกฏเหล็กว่า ต้องไม่เกิน 1 หน้า ห้ามเขียนพรรณนาหรือรำพันไปเรื่อยๆ จนไม่ใช่ใบสมัคร แต่เป็นรายการบรรยายความในใจ หรือชีวประวัติที่ผู้สมัครอยากให้โลกรู้ แต่องค์กรรับสมัครไม่อยากรู้

          การเขียนใบสมัครจึงต้องกะทัดรัดได้ใจความ

          5.เขียนศัพท์สแลง

          พยายามเขียนศัพท์ที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ อย่าใช้ศัพท์สแลง เพราะกรรมการคัดเลือกจะไม่เข้าใจ ไม่พออาจรำคาญหรือไม่เข้าใจก็ได้ จนใบสมัครของเราถูกทิ้งลงตะกร้าอีกใบ

          “ปรกติดิฉันเป็นคนทำงานดีไม่คิดร้ายกับใคร ถ้าจะไม่มีใครวีนมาดิฉันก็ไม่ว่าอะไร เพราะรู้ว่าเป็นพวกโหลยโท่ย”

          6.สะกดคำผิด

          คนที่เขียนคำผิดพลาด จะเป็นผลเสียมากกว่าได้ เพราะนายจ้างอาจคิดว่าเรื่องแค่นี้เรายังไม่ใส่ใจ แล้วจะให้ไปทำงานสำคัญอะไรได้ เพราะนี่คือเป็นการแสดงว่าเราเป็นคนไม่รับผิดชอบเท่าไร

          โดยเฉพาะควรเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง ถูกหลักไวยากรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้

          7.ไม่มีคนรับรอง

          หากมีคนเขียนรับรองว่า มีดีอะไร อะไรทำให้ได้งานง่ายขึ้นก็ได้ เพราะปัจจุบันการรับคนเข้าทำงานก็อยากได้คนซื่อสัตย์ สุจริต มีความรู้ ความสามารถ ความจริงใจ โดยเฉพาะด้านการเงิน หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น

          การมีคนรับรองจึงดีกว่าไม่มี คนรับรองนี้อาจเป็นบุคคลหรือองค์กรก็ได้

          ยิ่วเป็นบริษัทข้ามชาติ การมีใบรับรองจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

          8.เขียนที่อยากทำเฉพาะเจาะจงเกินไป

          การตีวงแคบ หรือเฉพาะเจาะจงว่าเราสนใจทำงานอะไรมากไป นายจ้างอาจไม่คิดจ้างเราก็ได้

          ทางที่ดีควรบอกแค่ว่าชำนาญอะไร แล้วเปิดกว้างให้รู้ว่านอกเหนือจากนี้เราก็ทำได้นายจ้างจะได้รู้สึกว่า อาจใช้เราคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป

          9.เรียกร้องต่อรอง

          ใบสมัครใดก็ตามมีคำต่อรองทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ถูกเรียกไปสัมภาษณ์ นายจ้างอาจคิดว่าขึ้นต้นเราก็อวดดี ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่ามีดีจะอวดหรือไม่

          ขนาดยังไม่ได้ทำงาน ยังมีข้อเรียกร้องต่อรองขนาดนี้ แล้วทำงานด้วยจะเรียกร้องขนาดไหน

          หากดีจริง เวลานายจ้างเรียกสัมภาษณ์แล้วเขาชอบเราอยากได้เรา เขาจะต่อรองเราเอง

          10.เขียนตามลำดับมาก

          เวลาเขียนสมัครงาน ไม่ต้องเรียงลำดับว่า เคยทำงานอะไรมาบ้างตามวันเวลา พ.ศ. ในแต่ละปี

          นายจ้างต้องการรู้แค่ว่า เราทำอะไรประสบความสำเร็จบ้างล่าสุด

          นี่คือข้อผิดพลาด 10 ประการที่คนอยากมีงานทำพลาดไปจนตกงานกันไม่น้อย ยิ่งไปกว่านี้คนอยากมีงานทำมักคิดว่า สมัครงานทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ ในเรื่องนี้ จอยส์ เลย เคเนดี (Jayce Lain Kenedy) ผู้แต่งหนังสือ Resumes for Dummies เตือนว่า ปัจจุบันคนบางกลุ่มจะส่งใบสมัครทางอินเตอร์เน็ต ผลก็คือใบสมัครจะมีเป็นร้อยเป็นพัน นายจ้างเลยไม่เปิดเข้าไปดู นี่เป็นเหตุหนึ่งที่หลายคนบ่นว่าส่งใบสมัครทางเว็บไซต์ก็ไม่เคยได้รับตอบกลับมาแม้แต่ครั้งเดียว

          ทางที่ดีควรจะส่งใบสมัครไปยังผู้จัดการดีกว่าแผนกทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Department) เพราะเขาย่อมรู้ดีว่าอยากได้คนแบบไหน

          หรือคนรู้จักมักคุ้นพนักงานในหน่วยงานนั้น เพื่อให้ส่งใบสมัครให้ อย่างน้อยก็รู้จักคนรับสมัคร หรือนายจ้างพอควร

09 พฤษภาคม 2561

ผู้ชม 7779 ครั้ง

ผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 17940794
Engine by shopup.com